
มาทดลองอ่านผลสรุปรายละเอียดของร่างปรับแต่งรัฐธรรมนูญ ฉบับ “รื้อถอนระบอบประยุทธ์” ที่สามัญชนร่วมลงนามกว่า 1.5 แสนรายนาม ส่งให้ห้องประชุมร่วมสภานิติบัญญัติพิเคราะห์
วันที่ 16-17 พฤศจิกายน 2564 นี้มีกำหนดการประชุมรัฐสภา ที่จะนำร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ ฉบับที่เสนอโดยภาคประชาชน เข้าสู่การพิจารณา ดูหนังออนไลน์ hd ฟรี ร่างฉบับนี้มีชื่อเล่นว่าร่าง “รื้อระบอบประยุทธ์” ที่มีข้อเสนอมุ่งหมายจะจัดการกับประเด็นปัญหาหลักๆ ในรัฐธรรมนูญ 2560 ที่ทำให้พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ยังเป็นนายกรัฐมนตรีต่อได้ไม่ว่าจะได้รับความนิยมจากประชาชนมากน้อยเพียงใด และเป็นชุดข้อเสนอที่มีประเด็นหลากหลาย นำเสนอนวัตกรรมใหม่ๆ ให้กับโครงสร้างทางการเมือง ชนิด “ไม่ประนีประนอม”
ข้อเสนอแก้ไขรัฐธรรมนูญ ฉบับ “รื้อระบอบประยุทธ์” จากกลุ่ม Resolution ที่มาจากการเข้าชื่อของประชาชน 150,921 คน (ผ่านการตรวจรายชื่อ 135,247 รายชื่อ) เตรียมเข้าสู่การพิจารณาของรัฐสภา อีกครั้งหนึ่ง ถือเป็นภาคสามของการพิจารณาแก้ไขรัฐธรรมนูญ 2560 และเป็นครั้งที่สองที่ร่างจากประชาชนได้เข้าสู่สภา เนื้อหาสำคัญคือเสนอให้ยกเลิกวุฒิสภา แต่ยังคงต้องการเสียงสนับสนุนจาก ส.ว. ด้วย
ความพยายามที่จะแก้ไขรัฐธรรมนูญ 2560 ของ คสช. เพื่อพาระบอบการปกครองกลับเข้าสู่ระบอบประชาธิปไตยที่ปกติยังคงเดินหน้าต่อไป แม้ว่าในช่วงปีเศษที่ผ่านมาจะมีการเสนอร่างแก้ไขต่อรัฐสภาแล้วรวมทั้งสิ้น 20 ฉบับ และรัฐสภาเปิดการประชุมเพื่อพิจารณาร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญแล้วอย่างน้อย 2 ภาค แต่ก็มีร่างเพียงฉบับเดียวที่ผ่านกระบวนการพิจารณาที่ “ยากที่สุดในประวัติศาสตร์” ของรัฐสภาได้สำเร็จ คือ ข้อเสนอที่ให้แก้ไขระบบเลือกตั้ง ส.ส.
ในการพิจารณาของรัฐสภาครั้งนี้ มีกำหนดจะประชุมกันทั้งหมด 18 ชั่วโมง ตั้งแต่เวลา 9.00 น. เป็นต้นไป โดยผู้เสนอร่างรัฐธรรมนูญได้เวลา 3 ชั่วโมง สมาชิกวุฒิสภา 5 ชั่วโมง สมาชิกพรรคร่วมรัฐบาล 5 ชั่วโมง และสมาชิกพรรคร่วมฝ่ายค้าน 5 ชั่วโมง ซึ่งเมื่อรวมกำหนดเวลาข้างต้น จะอภิปรายเสร็จในวันที่ 17 พฤศจิกายน 2564 เวลา 03.00 น. หรือหากการพิจารณาเกินเวลาก็อาจจะต้องยกไปพิจารณาต่อในวันรุ่งขึ้น ดูหนังออนไลน์ ชัด หลังจากนั้นก็จะลงมติกันในวันพุธที่ 17 พฤศจิกายน 2564 เวลา 10.00 น.
ข้อเสนอของร่าง “รื้อระบอบประยุทธ์” สามารถสรุปได้ดังนี้
1. ยกเลิก ส.ว.
ให้รัฐสภาไทยใช้ระบบสภาเดี่ยว มีแต่สภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) มาจากการเลือกตั้ง 500 คน ไม่มีสมาชิกวุฒิสภาอีกต่อไป โดยระบบการเลือกตั้ง ส.ส. ร่างฉบับนี้ไม่ได้เสนอให้เปลี่ยนแปลงแค่เสนอตามที่รัฐธรรมนูญ 2560 เขียนไว้ก่อนการเสนอร่างฉบับนี้
2. โละศาลรัฐธรรมนูญ และองค์กรอิสระ
ให้ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญและกรรมการในองค์กรอิสระ ที่ดำรงตำแหน่งอยู่และมาจากระบบการคัดเลือกของ คสช. พ้นจากตำแหน่ง และให้คัดเลือกคนใหม่ มีที่มาจากระบบการคัดเลือกที่เสนอชื่อโดยที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกา ที่ประชุมใหญ่ตุลาการศาลปกครองสูงสุด พรรคร่วมรัฐบาล พรรคร่วมฝ่ายค้าน และให้ ส.ส. ลงมติเลือกคนที่ได้คะแนนสูงที่สุดจากชื่อที่เสนอมาทั้งหมด
3. ยกเลิกแผนยุทธศาสตร์ คสช.
ให้ยกเลิกแผนยุทธศาสตร์ของ คสช. ที่วางอนาคตข้างหน้าไว้ 20 ปี และยกเลิกหมวด 16 การปฏิรูปประเทศ ในรัฐธรรมนูญ 2560 ซึ่งเป็นกลไกที่ คสช. ตั้งคนของตัวเองเข้าไปร่างเนื้อหาและอยู่ในกลไกการบังคับใช้ทั้งหมด
4. เขียนให้ชัด นายกฯ ต้องเป็น ส.ส.
เงื่อนไขของ “ที่มานายกฯ” คงไว้ซึ่งระบบบัญชีที่พรรคการเมืองต้องแจ้งรายชื่อว่าที่นายกรัฐมนตรีไม่เกินพรรคละสามรายชื่อ แต่เขียนให้ชัดเจนขึ้นว่า ให้สภาผู้แทนราษฎรพิจารณาให้ความเห็นชอบบุคคลซึ่งสมควรได้รับแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมตรีจากบุคคลที่ซึ่งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แปลว่า นายกฯ ต้องเป็น ส.ส. เท่านั้น และพล.อ.ประยุทธ์ จะเป็นนายกฯภายใต้ร่างฉบับนี้ไม่ได้
5. เสนอกลไกต่อต้านรัฐประหาร
เสนอหมวด 16 ใหม่ ชื่อว่า “การลบล้างผลพวงรัฐประหาร” ให้ยกเลิกการนิรโทษกรรมตัวเองของคุณรัฐประหาร 2557 กำหนดให้ปวงชนชาวไทยมีสิทธิและหน้าที่ในการต่อต้านการรัฐประหาร ข้าราชการและเจ้าหน้าที่ของรัฐ มีหน้าที่ไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของคณะทหารที่ก่อการรัฐประหาร ห้ามไม่ให้ศาลพิพากษารับรองความสำเร็จของการรัฐประหาร
6. เพิ่มอำนาจตรวจสอบให้ฝ่ายค้าน
ให้เพิ่มกลไกพิเศษของรัฐสภาขึ้น ได่แก่ คณะผู้ตรวจการกองทัพ คณะผู้ตรวจการศาล และคณะผู้ตรวจการองค์กรอิสระ โดยให้มีสมาชิก 10 คนที่ต้องเป็น ส.ส. ฝ่ายค้านอย่างน้อย 5 คน ดูหนังออนไลน์ movie และบังคับให้คณะกรรมาธิการ ส.ส. ที่เกี่ยวกับกฎหมาย งบประมาณ การทุจริต ฯลฯ ต้องให้ฝ่ายค้านเป็นประธานอย่างน้อย 5 คณะ
7. เพิ่มอำนาจการเข้าชื่อของประชาชน
เสนอระบบใหม่ให้พสกนิกรลงชื่อกันไม่น้อยกว่า 20,000 คน “พิจารณาตุลาการ” ที่ส่อโกงต่อหน้าต่อตาที่หรือเจตนาใช้อิทธิพลตรงข้ามข้อบังคับได้ และก็เสนอสำรวจผู้ครองตำแหน่งในองค์กรอิสระทั้งหลายแหล่ด้วย การลงชื่อเสนอข้อบังคับโดยประชากร 10,000 คนก็สามารถเสนอได้ทุกใจความสำคัญไม่มีข้อจำกัด และข้อบังคับประกอบรัฐธรรมนูญด้วย